[รีวิวไปเรื่อย EP.07] Typing Speed พิมเร็วดียังไง?
สวัสดีครับทุกคน ซีรีย์รีวิวไปเรื่อยของเราก็มาถึงตอนที่ 7 กันแล้วนะครับ ในตอนนี้ผมจะมาเล่าประสบการณ์การ “ฝึกพิมพ์ Keyboard” กันครับ
ทำไมถึงต้องฝึกพิมพ์ ?
ความอยากที่จะฝึกพิมพ์ของผมก็เริ่มมาจากการที่ผมตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าปีนี้ผมต้องการเพิ่ม Productivity Skill ของตัวเองให้ทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (ทั้งงานเขียน Blog และงานอื่นๆของตัวเองด้วย) ดังนั้นการฝึกพิมพ์ให้เร็วขึ้นนั้นก็ถือเป็น Productivity Hard Skill ที่ผมเองคิดว่าสามารถฝึกฝนได้และเห็นผลได้อย่างชัดเจนกว่าการฝึก Soft Skill ครับ
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้เองผมจึงเริ่มทำการฝึกพิมพ์ให้เร็วยิ่งขึ้น
โดยผมตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะพิมพ์ “ให้ได้สูงสุด 70 words per minute (wpm) และพิมพ์ได้เฉลี่ย 50–60 wpm ภายใน 2 เดือน”
โดยเริ่มจากการฝึกพิมพ์คำภาษาอังกฤษก่อนครับ
ซึ่งมาถึงตอนนี้แล้วผมก็จะขอแนะนำ Website ที่ผมใช้สำหรับการฝึกพิมพ์ทั้งหมดแล้วกันนะครับ
- typing.com — Website สำหรับมือใหม่หัดพิมพ์ไว้สำหรับการฝึกการวางนิ้วที่เรียกกันว่า home row และวิธีการพิมพ์ที่ถูกต้อง ซึ่งจะมีเนื้อหาเป็นลักษณะของบทเรียนไว้ให้เราฝึกใช้ Key ทีละตัวและนำ Key ต่างๆมารวมกันเพื่อฝึกพิมพ์เป็นคำ (มี Certificate ตอนเรียนจบด้วยนะ😀)
- monkeytype.com — เป็นเว็บสำหรับฝึกพิมพ์ไวโดยเฉพาะ ข้อดีของมันก็คือ UI ดูสบายตา ใช้งานง่าย และมีโหมดที่ไว้สำหรับฝึกพิมพ์หลากหลาย เช่น พิมพ์แบบจำกัดเวลา (time mode) หรือแบบพิมพ์ตามจำนวนคำที่เราตั้งเอาไว้ (quota mode) เป็นต้น และยังสามารถ track คำที่เราพิมพ์ผิดบ่อยเพื่อฝึกเฉพาะคำนั้นได้ด้วย
แต่สำหรับผมมองว่า monkeytype อาจจะเหมาะสำหรับการฝึกพิมพ์ไวในขั้นต้นเท่านั้น เพราะ UI มันดูสบายตาเกินไปและเป็นการพิมพ์แบบ pre-word ที่มีคำที่เราจะต้องพิมพ์ขึ้นมารออยู่แล้ว ทำให้การพิมพ์ใน monkeytype นั้นอาจจะได้ wpm มากกว่าปกติ และจะเอาไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ยากครับ
- 10fastfingers.com — Website สำหรับฝึกพิมพ์ไวที่ผมใช้เยอะที่สุด ถึงแม้ว่าตัว UI จะดูไม่น่าใช้เท่าไหร่ แต่เนื่องจาก 10fastfingers เป็นการฝึกพิมพ์ตามคำที่ขึ้นด้านบนซึ่งไม่เหมือนกับการ pre-word แบบ monkeytype และยังมีโหมดการพิมพ์ภาษาไทยไว้สำหรับการฝึกในอนาคตของผมอีกด้วย
กิจวัตรการพิมพ์ของผม
ใน 1 วันผมจะใช้เวลาในการฝึกพิมพ์ไม่มาก แต่จะเน้นเรื่องความถี่ในการฝึกเพื่อให้เกิดความเคยชินมากกว่า แต่ปกติแล้วผมก็จะตั้งเวลาฝึกเอาไว้ประมาณนี้ เผื่อใครที่ต้องการหรือกำลังจะฝึกพิมพ์อยู่ ก็ลองเอา routine ของผมไปใช้ดูก็ได้ครับ
- ฝึกพื้นฐาน 30 นาที / วัน โดยผมจะฝึกพื้นฐานใน typing.com หรือไม่ก็ไปพิมพ์ใน monkeytype เพื่อฝึกพิมพ์คำที่เราพิมพ์ผิดบ่อยๆครับ
- ฝึกพิมพ์จริง 10-20 นาที / รอบ และพักตามสะดวก ถ้าวันไหนไม่สะดวกก็ฝึกเพียงแค่รอบเดียว แต่ผมไม่แนะนำให้ใช้เวลาฝึกต่อรอบนานเกิน 30 นาที เนื่องจากจะทำให้ตาของเราล้าและไม่เกิดการพัฒนาได้ครับ (แถมหัวร้อนเพราะโฟกัสมากเกินไปอีกด้วยครับ😤)
tip✔️: ช่วงแรกของการฝึกควรเน้นไปที่ความแม่นยำหรือ accuracy มากกว่าความเร็วครับ เพราะการที่เราพิมพ์ได้เร็วขึ้นมันหมายถึงเราพิมพ์คำนั้นได้อย่างถูกต้องจนชินมือแล้ว จึงพิมพ์ได้ไวขึ้นนั่นเองครับ🙌
เริ่มฝึกพิมพ์ (17–21/08/2021)
ในวันแรกของการฝึกพิมพ์นั้นผมเริ่มจากการ “พิมพ์แบบมอง keyboard” ซึ่งเป็นการพิมพ์ในแบบที่ตัวเองถนัดที่สุด ซึ่งผมก็พิมพ์ได้เฉลี่ยประมาณ 40 wpm
ก็คิดว่าคงง่ายแล้วเรา😁 เพราะอีกนิดเดียวก็คงถึง 50 wpm แล้ว…แต่ผมนั้นอยากฝึกการ “พิมพ์แบบไม่มอง keyboard” เสียมากกว่า ดังนั้นผมจึงพยายามพิมพ์แบบไม่มอง keyboard ดู (ซึ่งก็มีแอบมองบ้างเล็กน้อย เพราะตอนนั้นยังไม่ถนัดจริงๆ😛)
สรุปว่าการพิมพ์แบบไม่มองของผมนั้นทำให้ wpm และความแม่นยำ (accuracy: acc) ลดลงมาอย่างมาก โดยเหลือเฉลี่ยเพียงแค่ 25–30 wpm เท่านั้น ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไปที่พิมพ์ keyboard เป็นภาษา Native ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 40 wpm เสียอีก
ดังนั้นผมจึงตัดสินใจที่จะเริ่มปูพื้นฐานการฝึกพิมพ์ใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่การวางนิ้วและวิธีการพิมพ์ใน typing.com โดยที่ยังไม่เข้าไปฝึกพิมพ์ในเว็บอื่นๆเลย
เริ่มกลับมาฝึกพิมพ์ที่ monkeytype (21–23/08/2021)
หลังจากที่ฝึกพื้นฐานการพิมพ์อยู่ที่ typing.com ไปได้ซักพักนึงจนเริ่มชินมือกับการวางนิ้วแบบ home row แล้ว ผมก็เริ่มกลับมาฝึกพิมพ์ใน monkeytype.com อีกครั้ง
ปรากฏว่าเราสามารถพิมพ์ได้ไวขึ้นจริงๆ ซึ่งผมก็สามารถพิมพ์ได้เฉลี่ย 30–40 wpm และที่สำคัญคือผมเริ่มชินกับการพิมพ์แบบไม่ดู Keyboard ได้แล้ว
และผลของการฝึกพื้นฐานการพิมพ์ของผมก็ทำให้ wpm พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ เพราะหลังจากนั้นผมฝึกพิมพ์ใน monkeytype เพียงอย่างเดียวจน wpm ไปถึง 50 wpm ได้ในไม่กี่วัน
แต่ในวันเดียวกันนั้น ผมก็ได้ไปลองใช้ 10fastfingers.com เนื่องจากทราบมาว่าตัว Website นั้นพิมพ์ยากกว่า monkeytype แต่มีความสมจริงมากกว่าและเป็นเว็บที่ฝรั่งนิยมใช้ฝึกพิมพ์อีกด้วย จะเห็นว่าในวันเดียวกันผมพิมพ์ใน 10fastfingers ได้ค่าเฉลี่ยเพียง 35–40 wpm ซึ่งก็ลดลงมาจาก monkeytype ถึง 10 wpm 😨 นั้นหมายความว่า 10fastfingers ก็คือความท้าทายต่อไปที่ผมจะต้องฝึกพิมพ์ในเว็บนี้ให้คล่องด้วยนั่นเอง💪
ฝึกพิมพ์ต่อที่ 10fastfingers (24/08/2021–17/10/2021)
หลังจากนั้นผมก็ฝึกพร้อมกันทั้งใน monkeytype เพื่อฝึกพิมพ์คำที่เราชอบพิมพ์ผิด และ 10fastfingers สำหรับการฝึกพิมพ์ในสถานการณ์จริง (จากนี้ก็ไม่มีอะไรมากแล้วครับ ก็เป็นการฝึกจนให้เกิดความเคยชินกับ Keyboard ของเราล้วนๆครับ)
หนึ่งจุดเปลี่ยนในการพัฒนาของผมอยู่ในวันที่ฝึกมาครบ 1 เดือน (17/09/2021) เพราะมันคือวันที่ผมเปลี่ยนมาใช้ Keyboard ใหม่ จากเดิมที่เป็น Keyboard ในตัว Notebook กลายเป็น Mechanical Keyboard แบบ Brown Switch ที่ผมเคยใช้เมื่อนานมาแล้วและพบว่ามันถนัดมือเรามากๆ ทำให้การพัฒนาของผมไปได้เร็วขึ้นและความอยากฝึกพิมพ์ก็เพิ่มขึ้นด้วย (พิมพ์แล้วเสียง keystroke มันเพราะดี😆)
และนี้คือผลที่ดีที่สุด ณ ปัจจุบันคือผลของวันที่ 08/10/2021 เนื่องจากหลังจากนี้ไม่ค่อยได้มีเวลามาฝึกพิมพ์แล้ว จึงหยุดไว้แค่วันนั้น แต่ก็ถือว่าการฝึกนั้นประสบความสำเร็จ เพราะตอนนี้สามารถ 🎉🎉 พิมพ์เฉลี่ยประมาณ 60–70 wpm ใน monkeytype และ 55–60 wpm ใน 10fastfingers 🎉🎉
สรุปแล้วการพิมพ์เร็วขึ้นมันดียังไงหล่ะ?
- Productivity ของเราเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน✊ โดยเฉพาะงานที่จะต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก (เช่นงานเขียน Blog, เขียน Code เป็นต้น) หรือแม้กระทั่งงานอดิเรกของเราก็ทำได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น Search Google หรือหาสินค้าใน eBay เป็นต้น
- ลดอาการมึนหัวจากการมอง Keyboard สลับกันกับหน้าจอ👀 อันนี้ถือเป็นผลประโยชน์แอบแฝงที่ผมไม่รู้ตัวด้วยซ้ำจนกระทั่งสามารถพิมพ์แบบไม่มอง Keyboard ได้ เนื่องจากผมเองเป็นคนที่มึนหัวจากการใช้คอมพิวเตอร์ได้ง่ายเพราะใช้จอมากกว่า 1 จอในชีวิตประจำวัน ดังนั้นการพิมพ์ Keyboard แบบที่ต้องมอง Keyboard ตลอดเวลาก็เหมือนกับการมี Keyboard เป็นจอที่สองของเราทำให้ต้องมอง จอ-Keyboard สลับไปมาอยู่ตลอด ซึ่งมันก็ทำให้ผมนั่งทำงานได้นานขึ้นนั่นเอง
- เท่👍 สุดท้ายเลยก็คือมันเท่ครับ เพราะเราสามารถพิมพ์แบบไวๆโดยที่ไม่ต้องมองได้ เราจะได้ฟิลเป็น programer ผู้เชี่ยวชาญในการพิมพ์ทันที!!!😂
ถ้าชอบหรือต้องการสอบถามหรือพูดคุยเพิ่มเติม กดไปที่เพจ ดาต้าไส้แห้ง หรือ LinkedIn ข้างล่างเลยจ้า แล้วเรื่องถัดไปจะเป็นเรื่องอะไรก็ขอให้กดติดตามกันไว้ด้วยนะคร้าบ😍